5. เทคโนโลยีทางการศึกษา กล่าวไว้เป็น 2 นัย คือ
เทคโนโลยีทางการศึกษา กับเทคโนโลยีของการศึกษา นัยทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างไร
1. เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน
และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ
(Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
2. เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology) หรือ
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์ วิชาการต่างๆ มาจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยการนําคํา “เทคโนโลยี” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งวิธีการ
ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว
แต่รวมถึงวัสดุและวิธีการ เมื่อนํามาใช้ กับ “การศึกษา”
จึงเป็นคําใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ
วัสดุและวิธีการไปส่งเสริม ประสิทธิภาพการเรียนรู้
รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้ “สื่อสาร”
เป็น กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ
โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางต่างๆ ให้เกิดความ เข้าใจและเป็นแบบปฏิสัมพันธ์
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
เป็นศาสตร์เฉพาะ โดยมีองค์ประกอบของศาสตร์/ วิทยาการ คือ 1. ศัพท์เฉพาะศาสตร์ 2. เนื้อหาสาระ/องค์ความรู้ และ 3. การศึกษาวิจัย
ซึ่งว่าด้วย การถ่ายทอดสาระระหว่างผู้รับและผู้ส่ง ซึ่งหมายถึง การประยุกต์เอาเทคนิค
วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์ และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อแก้ปัญหาการศึกษา
ทั้งในด้านปริมาณและด้านการปรับปรุง คุณภาพของการเรียนการสอน
วิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษา/เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในประเทศไทย มีการเรียน
การสอน ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก ซึ่งอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามที่แต่ละสถาบันกกำหนดซึ่งไม่ว่าชื่อจะแตกต่างกันอย่างไร
เนื้อหาของวิชาการ ก็เป็นเนื้อหาเดียวกัน ตามขอบข่ายและ มาตรฐานวิชาชีพ
โดยมีจุดเน้นต่างกันตามสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของนโยบายเท่านั้น
มาตรฐานปฏิบัติงานเทคโนโลยีการศึกษา/เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 1. ระดับปริญญา
ตรีจะเน้นการเป็นนักเทคโนโลยีปฏิบัติการ
ผู้ผลิตสื่อการศึกษาและให้บริการสื่อการศึกษา 2. ระดับ
ปริญญาโทจะเน้นการออกแบบ การจัดโปรแกรม และ 3) ระดับปริญญาเอกเน้นการพัฒนา
แหล่งที่มา:
การใช้สื่อการเรียนการสอนและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์).
วิกีพีเดีย. (2559). เทคโนโลยีการศึกษา.
(ออนไลน์).
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ (สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2559)
ชิ้นงานที่ออกมา แสดงถึงความตั้งใจในการทำงานค่ะ และเป็นแบบอย่างที่ดี
ตอบลบ