วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

ชิ้นงานที่ 2

1. ให้นิสิตสร้าง mind mapping โดยใช้โปรแกรม 
Edraw Mind Map สรุปเนื้อหาความรู้ตามแบบฝึกหัด 5 ข้อ

2. บันทึกเป็นไฟล์รูปภาพ แล้วโพสลงใน blog ของตนเอง



วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

5. เทคโนโลยีทางการศึกษา กล่าวไว้เป็น 2 นัย คือ เทคโนโลยีทางการศึกษา กับเทคโนโลยีของการศึกษา นัยทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างไร

          1. เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
          2. เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology) หรือ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์ วิชาการต่างๆ มาจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยการนําคํา เทคโนโลยีซึ่งมีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงวัสดุและวิธีการ เมื่อนํามาใช้ กับ การศึกษาจึงเป็นคําใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริม ประสิทธิภาพการเรียนรู้ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้ สื่อสารเป็น กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางต่างๆ ให้เกิดความ เข้าใจและเป็นแบบปฏิสัมพันธ์
          เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นศาสตร์เฉพาะ โดยมีองค์ประกอบของศาสตร์/ วิทยาการ คือ 1. ศัพท์เฉพาะศาสตร์ 2. เนื้อหาสาระ/องค์ความรู้ และ 3. การศึกษาวิจัย ซึ่งว่าด้วย การถ่ายทอดสาระระหว่างผู้รับและผู้ส่ง ซึ่งหมายถึง การประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์ และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อแก้ปัญหาการศึกษา ทั้งในด้านปริมาณและด้านการปรับปรุง คุณภาพของการเรียนการสอน วิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษา/เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในประเทศไทย มีการเรียน การสอน ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก ซึ่งอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามที่แต่ละสถาบันกกำหนดซึ่งไม่ว่าชื่อจะแตกต่างกันอย่างไร เนื้อหาของวิชาการ ก็เป็นเนื้อหาเดียวกัน ตามขอบข่ายและ มาตรฐานวิชาชีพ โดยมีจุดเน้นต่างกันตามสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของนโยบายเท่านั้น มาตรฐานปฏิบัติงานเทคโนโลยีการศึกษา/เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา                 1. ระดับปริญญา ตรีจะเน้นการเป็นนักเทคโนโลยีปฏิบัติการ ผู้ผลิตสื่อการศึกษาและให้บริการสื่อการศึกษา 2. ระดับ ปริญญาโทจะเน้นการออกแบบ การจัดโปรแกรม และ 3) ระดับปริญญาเอกเน้นการพัฒนา


แหล่งที่มา:
การใช้สื่อการเรียนการสอนและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์).
          ที่มา: https://sites.google.com/site/technoso8/ (สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2559)
วิกีพีเดีย. (2559). เทคโนโลยีการศึกษา. (ออนไลน์).
          ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ (สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2559)

4. ทัพสัมภาระ กับวิธีคิดแบบวิเคราะห์ระบบคืออะไร และมีบทบาทเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างไร


          ทัพสัมภาระ คือ  อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนเข้ามาช่วยในการสอนทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อถึงวิธีการคิดที่สลับซับซ้อนให้มีความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น วิธีการคิดแบบวิเคราะห์ระบบ คือ วิธีการหรือเทคนิคใหม่ ๆ ที่ไม่ต้องใช้ทัพสัมภาระอย่างใดเลย  ที่นำมาใช้ปรับปรุงวิธีการสอนหรือวิธีการจัดการศึกษา  มีผลดีหรือมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

แหล่งที่มา:

ตอนที่ 2 ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์). https://www.l3nr.org/posts/154197 (สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2559)
3. ยกตัวอย่างของการนำวิธีการหรือเทคนิคที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
          วิธีสอน หมายถึง แนวทางที่ปฏิบัติแบบอย่างที่ทา ที่ผู้สอนดา เนินการให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่าง ๆที่แตกต่างกัน ไปตามองค์ประกอบ และขั้นตอนสำคัญอัน เป็น
ลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ไดข้องวิธีนั้น ๆ เช่น วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย วิธีสอนแบบ
สาธิต แบบ สสวท. แบบโครงงาน แบบสืบสวนสอบสวน แบบอุปนัย แบบอภิปราย เป็นต้น

1. วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย (Lecture)

         วิธีสอนโดยใช้การบรรยายคือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม
วัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการพูด บอก เล่า อธิบาย สิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซักถาม แล้ว
ประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

2. วิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration)

          วิธีสอนโดยใช้การสาธิต คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม
วัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการแสดงหรือทา สิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ให้ผู้เรียนสังเกตดูแล้วให้
ผู้เรียนซักถาม อภิปราย และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสังเกตการสาธิต

3. วิธีสอนโดยใช้การทดลอง (Experiment)

          วิธีสอนโดยใช้การทดลองคือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม
วัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยการให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดปัญหาและสมมติฐานในการทดลองและลงมือทดลองปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล สรุปอภิปราย ผลการทดลอง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการทดลอง

4. วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)

          เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิชาด้วยตนเองได้แก่การศึกษาจากหนังสือและการศึกษานอกสถานที่ การสอนวิธีนี้บ้างครั้งเรียกว่า วิธีProblem Solving หรือ Discovery Method เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองภายใต้การดูแลและการแนะนำของครู รวมทั้งเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสแก้ปัญหาด้วยการแสดงความคิดเห็นในกลุ่มย่อยและหาข้อสรุป

5.วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ(Practice)


          วิธีสอนที่ให้ประสบการณ์ตรงกับผู้เรียน โดยการให้ลงมือปฏิบัติจริง เป็นการสอนที่มุ่งให้เกิดการผสมผสานระหว่างทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติการลงมือปฏิบัติมักดำเนินการภายหลังการสาธิต การทดลองหรือ การบรรยาย เป็นการฝึกฝนความรู้ความเข้าใจจากทฤษฎีที่เรียนมาโดยเน้นการฝึกทักษะ

6. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)


           เป็นวิธีสอนที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทา งานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถความถนัด หรือความสนใจ เป็นการฝึกใหนักเรียนทางานร่วมกันตามวิถีแห่งประชาธิปไตย

7. วิธีสอนโดยการทบทวน

           มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ทบทวนบทเรียนให้เข้าใจง่ายและเพื่อสรุปประเมินผลความเข้าใจในบทเรียน

8. วิธีสอนโดยการใช้สื่อ (Media)

          กระบวนการที่ผู้สอนได้ใช้วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์รวมทั้งวิธีการต่าง ๆ เป็นตัวกลางในการสื่อความหมายใด ๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้วิธีสอนโดยการใช้สื่อเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ด้วยการหาสิ่งที่ซับซ้อนหรือเป็นนามธรรมเข้าใจยาก ให้เป็นรูปธรรมที่เห็นภาพชัดเจนและเข้าใจง่าย ทา ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและสามารถเรียนรู้ได้ในปริมาณที่มาก

9. วิธีสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)

          กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง (มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากบทเรียนปกติกล่าวคือ เป็นบทเรียนที่เรียนมาสาระที่จะให้ผู้เรียนรู้มาแตกเป็นหน่วยย่อย (small steps) เพื่อให้ง่ายแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้

10.วิธีสอนโดยใช้เกม (Game)



          กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยการให้ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกาและเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปการเรียนรู้ วิธีสอนโดยใช้เกม เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ อย่างสนุกสนานและท้าทายความสามารถโดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเองทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง

แหล่งที่มา:
วิธีการสอน. (ออนไลน์) http://www.satit.su.ac.th/sootthin/471301/07.pdf ( สื่อค้นเมื่อ 8 กันยายน 2559)
2. ยกตัวอย่างของการนำวัสดุ และเครื่องมือหรืออุปกรณ์มาใช้ในการสอนและการจัดการศึกษา
        2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการสอนและการจัดการศึกษา
          เอดการ์  เดล (1965, 42 – 43) ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ 3 ประเภท  คือ
             1. สื่อประเภทวัสดุ (Software) หมายถึง  สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเอง ซึ่งจำแนกย่อยเป็น  2  ลักษณะ 
          1.1 วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง  โดยไม่จำเป็นจะต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย  เช่น  แผ่นเสียง  ลูกโลก  รูปภาพ  หุ่นจำลอง ฯลฯ
          1.2 วัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง  จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย  เช่น  แผ่นฟิล์ม ภาพยนต์  สไลด์

          2. สื่อประเภทอุปกรณ์ (Hardware) หมายถึง  สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่าน  ทำให้ข้อมูลหรือความรู้ที่บันทึกในวัสดุที่สามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน  เช่น  เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส่เครื่องฉาย
          3. สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ (Techniques  and  Methods)  หมายถึง  สื่อที่มีลักษณะเป็นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน  โดยสามารถนำสื่อวัสดุและอุปกรณ์มาใช้ช่วยในการสอนได้  เช่น  เกม  สถานการณ์จำลอง  บทบาทสมมุติ  และการสาธิต  เป็นต้น
         

แหล่งที่มา:

 สื่อการเรียนการสอน. (ออนไลน์). www.pro.edu.snru.ac.th/ (สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2559)

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

1. ค้นคว้า เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีทางการศึกษา และนวัตกรรมการศึกษา จากนักวิชาการอย่างน้อยคำละ 5 คน แล้วสรุปให้เป็นความหมายของตัวเอง พร้อมแสดงแหล่งอ้างอิง 
1.1   ความหมายของ สารสนเทศ



                    นฤมล ปราชญโยธิน, ทวีศักดิ์ กออนันตกูลและเปรมิน จินดาวิมลเลิศ (2536 : 24) ได้ให้ความหมายไว้ว่า"สารสนเทศ" หมายถึง ข่าวสาร สนเทศ ข้อสนเทศ สารนิเทศ เอกสารสนเทศ ข้อมูลข่าวสารความรู้ และข้อความรู้
                    วีระ สุภากิจ (2539 : 4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า" สารสนเทศ" (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือมีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้
                    วาสนา สุขกระสานติ (2540 : 1) ได้ให้ความหมายไว้ว่า "สารสนเทศ" (Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบ (raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
                    สุรวัฒน์ เหล็กกล้า (2540 : 10) ได้ให้ความหมายไว้ว่า "สารสนเทศ" หมายถึง ข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว โดยผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการต่าง ๆ จนมีความหมายสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ประกอบการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ได้
                    สุชาดา กีระนันทน์ (2541 : 5) คำว่า"สารสนเทศ" (Information) คือ ข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น จนได้ข้อสรุปเป็นข้อความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเน้นที่การเกิดประโยชน์คือความรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้
          สรุปได้ว่า สารสนเทศกล่าวคือ ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นข้อมูลนั้นๆ การประมวลผลและมีแนวคิดที่กว้างขวาง หลากหลาย แล้วยังรวมทั้งการส่งข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปหาผู้รับได้อีกด้วย

1.2 ความหมายของ เทคโนโลยีสารสนเทศ



          ยืน ภู่วรวรรณ. (2546 : 87-88) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจ ธรรมชาติกฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์เทคโนโลยีจึงเป็นค าที่มี ความหมายกว้าง ส่วนคำว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์ และวิชาการ ลองจิตนาการดูว่าสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานานความรอบรู้ของแต่ละคน จึง ขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัด ความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มี ข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์หนังสือพิมพ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ เมื่อรวมคำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าด้วยกัน จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่ เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลการพิมพ์การสร้างรายงาน และการ สื่อสารข้อมูล เป็นต้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บความรู้การ ส่งผ่าน และการสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศรวมไปถึงการสร้างอุตสาหกรรมสารสนเทศ และความต้องการสารสนเทศ และการจัดการสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีและ สารสนเทศ จึงเป็นการประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการศึกษา พัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติส่วนคำว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่มนุษย์นำมาใช้เพื่อให้เกิดเป็นความรู้
            คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ. (2545 : 65-67) ให้ความหมายของ เทคโนโลยีสารสนเทศไว้ว่า เป็นความรู้ในผลิตภัณฑ์หรือในกระบวนการดำเนินการใด ๆ ที่ได้อาศัย เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ (Software) คอมพิวเตอร์ทางฮาร์ดแวร์ (Hardware) การ ติดต่อสื่อสาร การรวบรวมและการนำข้อมูลมาใช้อย่างทันการ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งการผลิต การบริการ การบริหารและการดำเนินงาน รวมทั้งการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ที่ส่งผลถึงความ ได้เปรียบทางเศรษฐกิจ การค้าที่สำคัญคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตคุณภาพของประชาชน
          ไพรัช ธัชยพงษ์. (2541 : 54) ฉะนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร (Information and Communication Technology) หรือไอซีที(ICT) จึงมีความหมาย ใกล้เคียงและครอบคลุมเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งหมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูล และการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้างการน ามาวิเคราะห์ ประมวลผล การรับและการส่งข้อมูล การ จัดเก็บและการน าไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ซึ่งจะประกอบไปด้วย ส่วนอุปกรณ์(Hardware) ส่วนคำสั่ง (Software) และส่วนข้อมูล (Data) และระบบการสื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ระบบข่าวสารข้อมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ ทั้งที่มีสายและไร้สาย
          สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545 : 55) ในปัจจุบันได้มีนักวิชาการบางท่าน ได้เปลี่ยนชื่อเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and 5 Communication Technology หรือ ICT) ขณะเดียวกันทางองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) กลับเรียกเทคโนโลยีเหล่านี้ว่า “Informatics” หรือสนเทศศาสตร์ซึ่งหมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสารสนเทศ และการคำนวณเพื่อคาดการณ์ เหตุการณ์ในอนาคต
          ทักษิณา สวนานนท์และฐานิศรา เกียรติบารมี. (2546 : 348) กล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงเทคโนโลยีที่ ใช้จัดการข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในการรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์การ สร้างรายงาน เป็นต้น ซึ่งรวมเรียกว่าการประมวลผลข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และสมบูรณ์ ถูกต้อง และอาศัยเทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดและสื่อสารสนเทศ ถึงกันได้ในระยะไกล ๆ ทำให้สามารถจัดการและการเผยแพร่อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง ความแม่นยำและความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์สามารถเผยแพร่สารสนเทศและข้อมูล ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างองค์กรทั้งภายในและภายนอก สามารถดำเนินการร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการการส่งและรับข้อมูลและมัลติมีเดียที่เกี่ยวกับความรู้หรือเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น
          สรุปได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ถูกนำมาใช้งานอย่าง กว้างขวาง องค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ล้วนให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ จนมีคำเรียกโลกใน ยุคปัจจุบันว่าเป็นโลกยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือยุคไอที

1.3 ความหมายของ เทคโนโลยีทางการศึกษา



          กูด (Good,1973 : 529) ได้ให้ความหมายของ เทคโนโลยีการศึกษาไว้ว่า เป็นการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์และเครื่องมือเพื่อนามาใช้ในการเรียนการสอน
          แฮนคอค (Hancock,1977 : 5) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือการผสมผสานความคิด ความเข้าใจ ในการปฏิบัติงานระหว่างคนกับเครื่องมือและวัสดุ อย่างมีระบบโดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
          กาเย่ และบริกส์ (Gagne and Briggs,1979 : 22) ได้นิยามไว้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาคือความรู้ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการเรียนการสอนโดยครอบคลุม 3 ประการ ต่อไปนี้
         1. ความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้
         2. ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเสริมแรง การวางเงื่อนไข เป็นต้น
         3. เครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นประดิษฐ์กรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
          ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของ เทคโนโลยีทางการศึกษาว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
          เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
          สรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา การทำงานที่นำเทคโนโลยีมาใช้ เป็นการทำงานการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานนั้นๆ

1.4 ความหมายของ นวัตกรรมการศึกษา




        ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
          มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรมว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่ง หมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา
          ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมไว้ ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการ ทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น          
          จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรมไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543) “นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
          ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) เป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
           ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
           ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

          สรุปได้ว่า นวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย

แหล่งอ้างอิง
กูด. (1973). เทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
กาเย่ และบริกส์. (1979). เทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ. (2545). เทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/najarsarachat/home/khwam-hmay-thekhnoloyi-            sarsnthes (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
จรูญ วงศ์สายัณห์. (2520). นวัตกรรมการศึกษา. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://info.muslimthaipost.com (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2525). เทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2521). นวัตกรรมการศึกษา. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://info.muslimthaipost.com (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
เดล. (1969). เทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
ทักษิณา สวนานนท์และฐานิศรา เกียรติบารมี. (2546). เทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/najarsarachat/home/khwam-hmay-thekhnoloyi-            sarsnthes (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
ทอมัส ฮิวช์. นวัตกรรม. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://info.muslimthaipost.com (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
นฤมล ปราชญโยธิน, ทวีศักดิ์ กออนันตกูลและเปรมิน จินดาวิมลเลิศ. (2536). สารสนเทศ.          (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm   (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรม. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://info.muslimthaipost.com (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
ไพรัช ธัชยพงษ์. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/najarsarachat/home/khwam-hmay-thekhnoloyi-            sarsnthes (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
  มอร์ตัน. นวัตกรรม. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://info.muslimthaipost.com (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
 ยืน ภู่วรวรรณ. (2546). เทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/najarsarachat/home/khwam-hmay-thekhnoloyi-            sarsnthes (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
วีระ สุภากิจ. (2539). สารสนเทศ. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm
          (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
  วาสนา สุขกระสานติ. (2540). สารสนเทศ. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm
          (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
สุชาดา กีระนันทน์. (2541). สารสนเทศ. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm
          (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). เทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/najarsarachat/home/khwam-hmay-thekhnoloyi-            sarsnthes (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
สุรวัฒน์ เหล็กกล้า. (2540). สารสนเทศ. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm
          (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)
แฮนคอค. (1977). เทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์).
          แหล่งที่มา: http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559)




วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

THAILAND 4.0 by MOC





หากย้อนหลังไปในอดีต ประเทศไทยเองก็มีการปรับโมเดลเศรษฐกิจอยู่หลายครั้ง เริ่มจาก “โมเดลประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “โมเดลประเทศไทย 2.0” ที่เ

มาที่: http://www.thairath.co.th/content/613903